เมนู

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[214] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
ประการอย่างนี้.
[215] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้อ่อนยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้น
บุรุษเอาจอบและภาชนะ ฯ ล ฯ หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อ
เป็นอย่างนี้ต้นไม้อ่อนนั้น ถูกตัดรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน
ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
โทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหา
ย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯ ล ฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนั้น.
จบตรุณรุกขสูตรที่ 7

อรรถกถาตรุณรุกขสูตรที่ 7



ในตรุณรุกขสูตรที่ 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตรุโณ ได้แก่ ยังไม่เผล็ดผล. บทว่า ปลิสชฺเชยฺย แปลว่า
พึงชำระ. ข้อว่า "ปํสุํ ทเทยฺย ใส่ปุ๋ย." ได้แก่ เอาปุ๋ยที่แข็งและหยาบออก
ใส่ปุ๋ยที่หวานเจือปนด้วยโคมัยอ่อนและฝุ่นละเอียดลงไป. บทว่า วุฑฺฒึ